ชื่อเว็บบอร์ด | จำนวนกระทู้ | สร้างเมื่อ |
---|---|---|
นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้ามาบริหารประเทศ และสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามแผนที่วางไว้ ส่งผลให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจ หันกลับมาลงทุนมากขึ้น
ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี 2557 ในช่วงไตรมาส 4 จะขยายตัวสูงสุด จากงานภาครัฐที่คั่งค้างอยู่หลายงาน โดยคาดว่าทั้งปีจะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 9.5-9.6 แสนล้านบาท ขยายตัวประมาณ 1% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีมูลค่าลงทุน 9.52 แสนล้านบาท “จากสถานการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2557 ทำให้ในช่วงไตรมาส 1 - 2 ผู้ประกอบการได้ชะลอการลงทุนจำนวนมาก แต่หลังจากที่ คสช. ได้เข้ามาบริหารประเทศ ความเชื่อมั่นนักลงทุนฟื้นคืนมา ทำให้ในช่วงไตรมาส 4 ยอดการลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาก" นายจักรพร กล่าว ส่วนปี 2558 คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างสูงถึง 1 ล้านล้านบาทเป็นปีแรก ขยายตัวสูงกว่าปีนี้ประมาณ 5-6% เนื่องจากมีหลายโครงการที่ชะลอการลงทุนในช่วงต้นปี 2557 จะกลับเข้ามาลงทุนในปี 2558 รวมทั้งยังมีโครงการลงทุนภาครัฐ ทั้งโครงการลงทุนปกติประจำปีงบประมาณ และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งนี้การลงทุนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทย ภาครัฐจะเป็นตัวนำภาคเอกชน ซึ่งในปีหน้าการลงทุนก่อสร้างจะมาจากภาครัฐเป็นหลัก มีสัดส่วนประมาณ 55% และเอกชน 45% ซึ่งสูงกว่าค่าปกติอยู่ที่ 50:50 อสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวสูงสุด จะเป็นการก่อสร้างคอนโดมิเนียมทั้งใน กทม. ที่จะมีความสูงตั้งแต่ 30 ชั้นขึ้นไป และคอนโดมิเนียมในต่างจังหวัดที่มีความสูง 7-8 ชั้น “หากในปีหน้าอุตสาหกรรมก่อสร้างกลับมาฟื้นตัว ก็จะเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานตามมา จนทำให้เกิดการแย่งชิงแรงงาน แต่บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และจากการเยือนฟิลิปปินส์เสนอให้นำเข้าแรงงานฟิลิปปินส์ ซึ่งจะมีความได้เปรียบกว่าแรงงานประเทศเพื่อนบ้านเพราะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เป็นทางเลือกในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานของไทย" นอกจากนี้ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยอยู่ระหว่างการผลักดันก่อตั้งสภาก่อสร้างไทย เพื่อจัดระบบอุตสาหกรรมก่อสร้างให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากในขณะนี้ผู้ที่อยากทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เพียงจดทะเบียนตั้งบริษัทกับกระทรวงพาณิชย์ โดยไม่ต้องมีมาตรฐานใดๆ รองรับ ทำให้เกิดปัญหาการทิ้งงาน หรือการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งในต่างประเทศให้ความสำคัญความปลอดภัยจากการก่อสร้างมาก ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่กำหนด โดยในส่วนของประเทศไทย ได้มี พ.ร.บ.การประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ.2522 ที่กำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้ และตั้งองค์กรขึ้นมาในรูปแบบเดียวกับสภาวิศวกร และสภาสถาปนิก ซึ่งใน 2 องค์กรดังกล่าวจะดูแลในเรื่องของตัวบุคคล แต่สภาก่อสร้างไทยจะดูแลสมาชิกในรูปแบบนิติบุคคล ซึ่งจะเข้ามากำหนดมาตรฐานบริษัทก่อสร้าง ความปลอดภัย และจริยธรรมต่างๆ หากทำไม่ถูกต้องก็จะถูกถอนใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นการยกระดับมาตรฐานก่อสร้างไทย และปกป้องผู้บริโภค ที่มา : http://goo.gl/l4MAbD |
123 | 2015-02-01 11:03:56 |